เครื่อง Pressure Transmitter มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึงการแพทย์ ที่ใช้งานเครื่อง Pressure Transmitter ในการวัดความดันให้เหมาะสมกับงานผลิต ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจในระบบความปลอดภัยและคุณภาพของกระบวนการที่จะต้องรักษาคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค
Pressure Transmitter คืออะไร
Pressure Transmitter (PT) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดัน หรือ วัดแรงดัน (Pressure) ของก๊าซหรือของเหลว และทำการแปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้ออกมาเป็นสัญญาณมาตรฐาน ให้เหมาะสำหรับการใช้ในงานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปแสดงค่าและการควบคุมกระบวนการต่างๆ
หลักการทำงานของ Pressure Transmitter
หลักการทำงานของ Pressure Transmitter จะใช้การแปลงค่าแรงดันให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยจะมีส่วนประกอบหลัก คือ Pressure Sensor เป็นส่วนที่วัดแรงดัน สามารถออกแบบและใช้งานได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการ ดังนี้
- Strain gauge pressure sensor คือ หลักการของการเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดัน
- Piezoelectric pressure sensor คือ หลักการของการสร้างกระแสไฟฟ้าเมื่อมีแรงดันบนวัสดุ Piezoelectric
- Capacitive pressure sensor คือ หลักการของการเปลี่ยนแปลงของความจุของตัวความจุเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความดัน
- Transducer คือ การใช้แปลงการเปลี่ยนแปลงของวัสดุให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนแปลงขนาดของตัวขยายหรือตัวขดลง
- Amplifier คือ การใช้ขยายสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้มีพลังงานมากพอที่จะใช้งานต่อไป
- Converter คือ การแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นแบบที่สามารถนำไปใช้งานได้ เช่น สัญญาณ Digital หรือ Analog
ประเภทของ Pressure Transmitter
แบ่งประเภทให้ตรงตามหลักการทำงานและการนำไปใช้ ได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Strain Gauge
หลักการทำงาน คือ อาศัยการยืดหดตัวของ Strain Gauge ที่ยึดติดอยู่กับแผ่นไดอะแฟรมและต่อวงจรไปยังวงจรวิทสโตนบริดจ์ (Wheatstone Bridge) เพื่อแปลงความดัน (Pressure) ไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
- Thin Film
เป็นเซ็นเซอร์ลักษณะแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่จะรับแรงกดแล้วแสดงค่าแรงดันออกมา นิยมใช้กับงานที่มีแรงดันต่ำ
- Thick Film
ไดอะแฟรมจะผลิตจากวัสดุ เช่น เซรามิก เหมาะกับงานที่แรงดันสูง มีความแข็งแรงมากกว่าประเภท Thin Film นิยมใช้ในงาน
ไฮดรอลิก
การใช้งานของเครื่องมือ Pressure Transmitter
ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมการแพทย์และยา อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะใช้ในการควบคุมแรงดันในกระบวนการผลิต และการใช้งานภายในห้องปฏิบัติการ จะใช้ในการวัดแรงดันของอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น อุปกรณ์ทดสอบวัสดุ หรือ อุปกรณ์ทดสอบการทำงานของสารเคมี เป็นต้น
ช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดัน
การสอบเทียบเครื่องมือวัดความดันเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้อง และมีความเชื่อถือของผลลัพธ์การวัดความดัน การกำหนดช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดันเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการรักษาความถูกต้องและความเชื่อถือของเครื่องมือในการใช้งานในระยะยาว เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้งาน การกำหนดช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบควรพิจารณา ดังนี้
- ความถี่ในการสอบเทียบ
กำหนดความถี่ในการสอบเทียบตามความเหมาะสมของเครื่องมือและการใช้งาน เช่น การสอบเทียบปีละครั้ง หรือ หลายปีครั้ง
- สภาวะการใช้งาน
พิจารณาสภาวะการใช้งานของเครื่องมือ เช่น การใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง หรือการใช้งานที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและคุณภาพ
- การใช้งานก่อนและหลังการสอบเทียบ
คำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งานก่อน และหลังการสอบเทียบ เพื่อกำหนดช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบให้เหมาะสม
- การตรวจสอบผลการสอบเทียบ
การตรวจสอบผลการสอบเทียบเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบครั้งต่อไป
- การประเมินความเสี่ยง
ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือวัดความดันและใช้ข้อมูลนี้ในการกำหนดช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบ
- การบันทึกข้อมูล
บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำหนดช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบในอนาคต
ข้อควรระวังและการดูแลรักษา Pressure Transmitter
- ไม่ควรใช้งานเกินขีดจำกัดแรงดันสูงสุดของเครื่องส่งสัญญาณแรงดัน (Max Pressure) เพราะการรับแรงดันที่เกินช่วงนั้นอาจทำให้อุปกรณ์ชำรุด เสียหายได้
- สภาพแวดล้อมของการใช้ Pressure Transmitter ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ชื้นและร้อนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกระแทกและการสั่นสะเทือนสูงมากเกินไป อาจทำให้เครื่องส่งสัญญาณแรงดันเสียหายได้
โดยสายงานบริการ 3 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท “ มีให้บริการสอบเทียบเครื่องมือ “Pressure Transmitter ในย่านการวัดที่ Up to 70 Kg/Cm2 (Pneumatic) และ Up to 1000 Bar (Hydraulic)” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ประสบการณ์การสอบเทียบที่มากกว่า 50 ปี โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line Official: @TPACAL
โทร. 02-717-3000 ต่อ 82
Email: [email protected]