ภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสากรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือแม้แต่ด้านการแพทย์ ต่างต้องรักษาคุณภาพมาตรฐาน เพื่อความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระบวนการวัด ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาคุณภาพและมาตรฐาน ฉะนั้นเมื่อมีการวัด จึงมีความจำเป็นว่า เครื่องมือที่ใช้วัดต้องได้รับการสอบเทียบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อยืนยันความสามารถของเครื่องมือ ว่ายังสามารถอ่านค่าและแสดงผลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

วัตถุประสงค์ของการสอบเทียบ

1.เพื่อความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ว่าเครื่องมือแสดงค่า อย่างถูกต้อง แม่นยำ และอยู่ในเกณฑ์การยอมรับได้

2.เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในกระบวนการขั้นตอนการผลิต ที่ใช้การวัดในการปฏิบัติงาน

3.ขั้นตอนการวัด ต้องสามารถสอบย้อนกลับได้ไปยังมาตรฐานแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดหนึ่งของมาตรฐานการวัด

ทั้งนี้การสอบเทียบเครื่องมือ หน่วยงานสอบเทียบจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และสอบเทียบโดยเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในสาขางานสอบเทียบนั้นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผลการสอบเทียบเครื่องมือที่ได้รับ จะมีความถูกต้อง แม่นยำและเป็นไปไปตามหลักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งบริการสอบเทียบและทดสอบเครื่องมือวัดของ “สายงานบริการ 3 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท”  เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ประสบการณ์การสอบเทียบที่มากกว่า 50 ปี  โดยครอบคลุมขอบข่ายการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดหลากหลายสาขา ดังนี้

1.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบไฟฟ้าและแสง (Electrical Instrument)

2.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบอุณหภูมิ (Temperature Instrument)

3.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบมิติ (Dimensional Instrument)

4.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบมวล เครื่องชั่ง และแรงบิด (Mass, Balance & Torque Instrument)

5.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบความดัน และสูญญากาศ (Pressure & Vacuum)

6.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity Instrument)

7.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดทางการแพทย์ (Medical Equipment)

8.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบปริมาตร (Volumetric)

9.ห้องปฏิบัติการสอบเทียบเคมี (Laboratory Equipment)

10.สอบเทียบนอกสถานที่ (On-site)

นอกจากนี้ทาง ส.ส.ท ยังได้เปิดให้บริการในกิจกรรมสำคัญ ที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการสอบเทียบเครื่องมือ ดังนี้ บริการให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ บริการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ บริการประเมินสมรรถนะบุคคลในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และบริหารจัดการระบบการสอบเทียบให้กับสถานประกอบการ เป็นต้น โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line Official: @TPACAL

โทร. 02-717-3000 ต่อ 82

Email: [email protected]

www. tpacal.or.th

Tags