![](https://tpacal.or.th/wp-content/uploads/2024/06/Head-Banner-Liquid-1.jpg)
มาพาทำความรู้จักกับ Liquid in Glass Thermometer
![](https://tpacal.or.th/wp-content/uploads/2024/06/37306584_l_normal_none-1024x678.jpg)
เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่อาศัย ”หลักการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ เชิงกล ด้วยการขยายตัวหรือหดตัวของของเหลวที่อยู่ภายใน” เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปของเหลวภายในหลอดแก้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และเมื่อของเหลวได้รับความร้อนอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นของเหลวจะขยายตัวและหดตัวลงเมื่ออุณหภูมิของเหลวลดลง โดยจะแสดงค่าผ่านทาง Scale
ของเหลวที่บรรจุภายใน Liquid in Glass Thermometer
- Mercury (ปรอท)
- Ethanol (แอลกอฮอล์)
- Pentane (ไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างแก๊สกับของเหลว)
- Toluene (ของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ)
หมายเหตุ : Mercury (ปรอท) , Ethanol (แอลกอฮอล์) เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
คุณสมบัติของ ของเหลวที่บรรจุภายใน Liquid in Glass Thermometer
- จะต้องคงสถานะของเหลวตลอดช่วงอุณหภูมิของ Thermometer
- จะต้องมีสัมประสิทธ์การขยายตัวที่เป็นเชิงเส้น
- จะต้องมีคุณสมบัติที่แสงไม่สามารถผ่านได้ (มีสีเพื่อให้ง่ายในการอ่านค่า)
- จะต้องไม่ทิ้งคราบไว้ภายใน Capillary ในขณะที่เคลื่อนที่
- จะต้องไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับวัสดุอื่นในระบบ
- จะต้องคงลักษณะทางเคมีได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่เสื่อมคุณสมบัติ
- ไม่เป็นพิษ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- จะต้องมีส่วนโค้งนูนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายในการอ่านค่า
Liquid in Glass Thermometer แบ่งตามลักษณะการจุ่ม
จุดสังเกต บริเวณแท่งแก้วจะมีระบุประเภทของการจุ่มไว้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- Total Immersion ระยะจุ่มในการใช้งานต้องจุ่มตามระยะ Scale ที่ใช้งาน
![](https://tpacal.or.th/wp-content/uploads/2024/06/total-1024x683.png)
2. Partial Immersion ระยะจุ่มต้องจุ่มตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด Immersion Line หรือ กำหนดไว้เป็นตัวเลข
![](https://tpacal.or.th/wp-content/uploads/2024/06/per-1024x683.png)
วิธีการอ่านค่า Liquid in Glass Thermometer
การอ่าน Liquid in Glass Thermometer จะอ่านค่าของเหลวที่บรรจุในหลอดอยู่ในระดับสายตา โดยถ้าหากเป็นชนิดที่บรรจุด้วยปรอท ชนิดปรอทจะ “อ่านค่า ด้านบนสุดของส่วนโค้ง ของของเหลว” และชนิดแอลกอฮอล์จะ “อ่านค่า ด้านล่างสุดของส่วนโค้ง ของของเหลว”
![](https://tpacal.or.th/wp-content/uploads/2024/06/การอ่านค่า-1024x1024.png)
ข้อควรระวัง และการดูแลและรักษาเครื่องมือมีอะไรบ้าง
ในการจัดเก็บและดูแล Liquid in Glass Thermometer นั้นจะมีข้อแตกต่างในการเก็บรักษา โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเก็บรักษาแบบแนวนอนและแนวตั้ง โดยการเก็บรักษาแบบแนวนอนนั้น จะใช้กับ Liquid in Glass ชนิดที่มีปรอทบรรจุภายในหลอดแก้ว และการเก็บรักษาแบบแนวตั้ง จะใช้กับ Liquid in Glass ชนิดที่มีแอลกอฮอล์บรรจุภายในหลอดแก้ว และไม่ควรให้กระเปาะเป็นจุดรับน้ำหนักโดยตรงควรหาที่รองที่อ่อนนุ่มและกันกระแทกมารองที่ปลายกระเปาะ
คำแนะนำก่อนส่งสอบเทียบเครื่องมือ
- ตรวจเช็คลักษณะทางกายภาพของเครื่องมือว่ามีความสมบูรณ์พร้อมที่จะสอบเทียบหรือไม่ เช่น
- ขีด Scale เลือนลางแสดงค่าไม่ชัดเจนหรือไม่
- หากมีปรอทหรือของเหลวภายในที่มีการขาดช่วงหรือแยกตัวออกจากกัน สามารถต่อได้ในกรณีที่เครื่องมือมี Expansion chamber เท่านั้น
- กระเปาะบรรจุปรอทหรือของเหลว และตัวก้าน Stem มีรอยขีดข่วนลึก/แตกร้าวหรือไม่
- เครื่องมือต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นแบบ Total Immersion หรือ Partial Immersion
- ควรแจ้งข้อมูลให้ทางห้องปฏิบัติการทราบถึงการใช้งาน ว่าเครื่องมือถูกใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ หรือไม่ (อุณหภูมิปกติ < 200 ºC ) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำ Pre-condition เครื่องมือก่อนสอบเทียบ
- Immersion Effect เป็นผลที่ทำให้เกิดค่า Error เนื่องจากระยะจุ่มวัดใช้งานไม่ถูกวิธี เช่น การนำ Liquid in Glass Thermometer แบบ Total Immersion มาจุ่มวัด แบบ Partial Immersion เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่า Error จาก Immersion Effect ควรใช้งานเครื่องมือแต่ละประเภทให้ถูกวิธี
โดยสายงานบริการ 3 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท “ มีให้บริการสอบเทียบเครื่องมือ Liquid in Glass Thermometer ทั้งแบบ Total Immersion ในจุดอุณหภูมิที่ -40 ºC to 400 ºC ” และ Partial Immersion ในจุดอุณหภูมิที่ -38 ºC to 400 ºC ” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ประสบการณ์การสอบเทียบที่มากกว่า 50 ปี โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-717-3000 ต่อ 82
Email: [email protected]