มาพาทำความรู้จักกับ Liquid in Glass Thermometer

            เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่อาศัย ”หลักการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ เชิงกล ด้วยการขยายตัวหรือหดตัวของของเหลวที่อยู่ภายใน” เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปของเหลวภายในหลอดแก้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และเมื่อของเหลวได้รับความร้อนอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นของเหลวจะขยายตัวและหดตัวลงเมื่ออุณหภูมิของเหลวลดลง โดยจะแสดงค่าผ่านทาง Scale

ของเหลวที่บรรจุภายใน Liquid in Glass Thermometer

  • Mercury (ปรอท)
  • Ethanol (แอลกอฮอล์)
  • Pentane (ไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างแก๊สกับของเหลว)
  • Toluene (ของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ)

หมายเหตุ : Mercury (ปรอท) , Ethanol (แอลกอฮอล์) เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

คุณสมบัติของ ของเหลวที่บรรจุภายใน Liquid in Glass Thermometer

  • จะต้องคงสถานะของเหลวตลอดช่วงอุณหภูมิของ Thermometer
  • จะต้องมีสัมประสิทธ์การขยายตัวที่เป็นเชิงเส้น
  • จะต้องมีคุณสมบัติที่แสงไม่สามารถผ่านได้ (มีสีเพื่อให้ง่ายในการอ่านค่า)
  • จะต้องไม่ทิ้งคราบไว้ภายใน Capillary ในขณะที่เคลื่อนที่
  • จะต้องไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับวัสดุอื่นในระบบ
  • จะต้องคงลักษณะทางเคมีได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่เสื่อมคุณสมบัติ
  • ไม่เป็นพิษ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
  • จะต้องมีส่วนโค้งนูนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายในการอ่านค่า

Liquid in Glass Thermometer แบ่งตามลักษณะการจุ่ม

จุดสังเกต บริเวณแท่งแก้วจะมีระบุประเภทของการจุ่มไว้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. Total Immersion   ระยะจุ่มในการใช้งานต้องจุ่มตามระยะ Scale ที่ใช้งาน

2. Partial Immersion ระยะจุ่มต้องจุ่มตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด Immersion Line หรือ กำหนดไว้เป็นตัวเลข

วิธีการอ่านค่า Liquid in Glass Thermometer

            การอ่าน Liquid in Glass Thermometer จะอ่านค่าของเหลวที่บรรจุในหลอดอยู่ในระดับสายตา โดยถ้าหากเป็นชนิดที่บรรจุด้วยปรอท ชนิดปรอทจะ “อ่านค่า ด้านบนสุดของส่วนโค้ง ของของเหลว”  และชนิดแอลกอฮอล์จะ “อ่านค่า ด้านล่างสุดของส่วนโค้ง ของของเหลว” 

ข้อควรระวัง และการดูแลและรักษาเครื่องมือมีอะไรบ้าง

            ในการจัดเก็บและดูแล Liquid in Glass Thermometer นั้นจะมีข้อแตกต่างในการเก็บรักษา โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเก็บรักษาแบบแนวนอนและแนวตั้ง  โดยการเก็บรักษาแบบแนวนอนนั้น จะใช้กับ Liquid in Glass ชนิดที่มีปรอทบรรจุภายในหลอดแก้ว และการเก็บรักษาแบบแนวตั้ง จะใช้กับ Liquid in Glass ชนิดที่มีแอลกอฮอล์บรรจุภายในหลอดแก้ว และไม่ควรให้กระเปาะเป็นจุดรับน้ำหนักโดยตรงควรหาที่รองที่อ่อนนุ่มและกันกระแทกมารองที่ปลายกระเปาะ 

คำแนะนำก่อนส่งสอบเทียบเครื่องมือ

  • ตรวจเช็คลักษณะทางกายภาพของเครื่องมือว่ามีความสมบูรณ์พร้อมที่จะสอบเทียบหรือไม่ เช่น
  • ขีด Scale เลือนลางแสดงค่าไม่ชัดเจนหรือไม่
  • หากมีปรอทหรือของเหลวภายในที่มีการขาดช่วงหรือแยกตัวออกจากกัน สามารถต่อได้ในกรณีที่เครื่องมือมี Expansion chamber เท่านั้น
  • กระเปาะบรรจุปรอทหรือของเหลว และตัวก้าน Stem มีรอยขีดข่วนลึก/แตกร้าวหรือไม่
  • เครื่องมือต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นแบบ Total Immersion หรือ Partial Immersion
  • ควรแจ้งข้อมูลให้ทางห้องปฏิบัติการทราบถึงการใช้งาน ว่าเครื่องมือถูกใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ หรือไม่ (อุณหภูมิปกติ < 200 ºC ) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำ Pre-condition เครื่องมือก่อนสอบเทียบ
  • Immersion Effect เป็นผลที่ทำให้เกิดค่า Error เนื่องจากระยะจุ่มวัดใช้งานไม่ถูกวิธี เช่น การนำ Liquid in Glass Thermometer แบบ Total Immersion มาจุ่มวัด แบบ Partial Immersion เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่า Error จาก Immersion Effect ควรใช้งานเครื่องมือแต่ละประเภทให้ถูกวิธี

            โดยสายงานบริการ 3 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท “ มีให้บริการสอบเทียบเครื่องมือ Liquid in Glass Thermometer  ทั้งแบบ Total Immersion ในจุดอุณหภูมิที่  -40 ºC to 400 ºC ”  และ Partial Immersion ในจุดอุณหภูมิที่  -38 ºC to 400 ºC ”   ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ประสบการณ์การสอบเทียบที่มากกว่า 50 ปี โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line Official: @TPACAL

โทร. 02-717-3000 ต่อ 82

Email: [email protected]

www. tpacal.or.th

Tags